หน้ากระดานข่าวหลัก thaiglider.com
ห้องสนทนา ชมรมเครื่องร่อน (ประเทศไทย)
 
 คำถามบ่อย[FAQ]คำถามบ่อย[FAQ]  ค้นหา[Seach]ค้นหา[Seach]  สมาชิก[Members]สมาชิก[Members]  ปฎิทินการบิน[Calendar]ปฎิทินการบิน[Calendar]   สมัครสมาชิก[Register]สมัครสมาชิก[Register] 
 ข้อมูลส่วนตัว[Profile]ข้อมูลส่วนตัว[Profile]   ข่าวสารส่วนตัว[PM]ข่าวสารส่วนตัว[PM]   เข้าระบบ[Login]เข้าระบบ[Login] 

คู่มือ ร่ม Wings Of Change
 ตั้งกระทู้ใหม่[NewTopic]   ตอบกระทู้[Reply]     หน้ากระดานข่าวหลัก - ความรู้เกี่ยวกับร่มร่อน(Theory)
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
ลูกหมี



Join: 10 สค. 2005
ตอบ: 2858
ที่อยู่: เขาพาง จ.ชุมพร

ตอบตอบ: จ. มิย. 22, 2009 12:39 pm    ชื่อกระทู้: คู่มือ ร่ม Wings Of Change ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)
คู่มือร่มร่อน Wings Of Change รุ่น EDONIS



1. บทนำ
ข้อมูล และคำแนะนำ ต่างๆนี้ จัดทำขึ้น
เพื่อให้ท่าน รู้จัก และมีความคุ้นเคย กับร่ม Wings Of Change รุ่น EDONIS (DHV1)



ท่าน จะมีความสุข กับการบิน ด้วยร่ม ตัวนี้ หลายร้อยชั่วโมง
หาก มีการใช้ การดูแล และการเก็บรักษา อย่างถูกต้อง

1.1ข้อควรระวัง
ร่มตัวนี้ ต้องใช้บินโดย ผู้ที่ผ่านการฝึก การเป็นนักบินร่มร่อนแล้ว
เพราะร่มร่อน เป็นกีฬาที่อันตราย แม้ จะมีการเลือกใช้ อุปกรณ์ ที่ถูกต้อง
ความเสี่ยง หรืออันตราย ถึงชีวิต ก็อาจเกิดขึ้นได้ หากใช้ โดยไม่รู้ หรือขาดความระมัดระวัง

1.2 ความปลอดภัย
นักบินร่มร่อน ต้องมีความรู้ ทางด้าน ทฤษฎี และการปฎิบัติ ที่เพียงพอ
ตลอดจน มีการตัดสินใจ ที่ถูกต้อง ในแต่ละสถานการณ์ เพื่อให้การบินเป็นไปด้วยความปลอดภัย
อุปกรณ์ จะดีเพียงใด ก็ไม่สามารถ ชดเชย การขาดความระมัดระวัง และการกระทำที่ผิดพลาดของนักบินได้
จำไว้เสมอว่า ท่าน มีโอกาส ที่จะเลือกบิน หรือไม่บิน ก็ได้ เมื่อไปถึงจุดเทคอ็อฟ
หากไม่แน่ใจ หรือเกิดความกังวล เกี่ยวกับสถานที่ และสภาวะอากาศ ก็อย่าเสี่ยง

2. รายละเอียดของอุปกรณ์
2.1 ข้อมูล ทั่วไป
EDONIS เป็นร่ม ที่ออกแบบใหม่ทั้งหมด ในปี 2008 ทั้งด้านโปรไฟล์ และ โครงสร้างภายใน
เพื่อปรับปรุง การบิน ให้เต็มไปด้วย ความปลอดภัย ความเร็ว และประสิทธิภาพ
สายต่างๆ ถูกเลือกใช้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึง ความปลอดภัย ความเสถียร
มีการต้านลมน้อย มีความแข็งแรงสูง และมีอัตราการยืด หรือหด น้อยที่สุด
โดยสายที่เลือกใช้ จะเป็นสาย Edelried หุ้มด้วย Polyester เพื่อให้ร่ม คงสภาพเดิม และมีอายุการใช้งาน ที่ยาวนาน
ผ้าร่ม จะเป็นผ้า Ripstop nylon จาก Porcher Marine
สาย ไรเซอร์ จะแบ่ง ออกเป็น 4 ชุด คือ A,B,C, และ D เพื่อความง่ายในการจับสาย แต่ละชุด
และยังมีระบบ เพิ่มความเร็ว หรือสปีดบาร์ ด้วย

2.2 ข้อจำกัด ในการใช้
ร่มร่อน เป็นกีฬา ที่อันตราย แต่เราก็สามารถ ลดความเสี่ยงลงได้
ด้วยการเลือกใช้ อุปกรณ์ และผ่านการ ฝึก หรือ เทรนนิ่ง ที่ถูกต้อง
ร่มรุ่น EDONIS ออกแบบมา สำหรับ การร่อน ออกจากเนินเขา ด้วยเท้า
หรือการ ลากขึ้นฟ้า ด้วย ระบบวินซ์ ไม่ได้ ออกแบบมา สำหรับการ บิน ผาดโผน

2.3 การรับประกัน จากผู้ผลิต
รับประกัน ตลอดอายุการใช้งาน ยกเว้น การใช้งาน ที่ผิด หรือดูแลรักษา ไม่ถูกต้อง
นักบิน ต้องทำการ บันทึก การบิน และมีการตรวจสอบสถาพร่ม ตลอด อายุการใช้งาน

3. สิ่งที่จำเป็นสำหรับ นักบิน
Wings Of Change รุ่น EDONIS ผ่านการทดสอบ ความปลอดภัย อยู่ในระดับ DHV 1
ทั้ง ไซส์เล็ก ไซส์กลาง และ ไซส์ใหญ่ นั้นก็คือ มีความปลอดภัยที่สุด เหมาะแก่นักบินใหม่
แต่ถ้า นักบิน ได้ผ่านหลักสูตรความปลอดภัย หรือ SIV มาก่อน ก็จะเป็นการดี

4. การจัดตั้งอุปกรณ์
ทางบริษัท ได้ทำการตรวจสอบ ความยาวของสาย แต่ละเส้น อย่างแม่นยำที่สุด
โดยจะทำการ ตรวจสอบ เป็น 2 ขั้นตอน แยก ออกจากกัน เพื่อให้ได้ค่า ที่ถูกต้อง และแม่นยำที่สุด
สำหรับ สายเบรค หรือสปีดบาร์ ผู้ใช้แต่ละคน สามารถปรับเปลี่ยนได้ตาม ความเหมาะสม

4.1 ความยาวของ สายเบรค
ความยาวของสายเบรค ต้องไม่ยาวมากไป จนไม่สามารถ แฟลร์ หรือดึงร่มลงพื้น ขณะแลนดิ่งได้
และก็ต้องไม่สั้นเกินไป จนลดสปีดของร่ม และมีโอกาส ที่จะสต็อลได้ง่ายขึ้น

4.2 สปีดบาร์ สำหรับ เหยียบเพิ่มความเร็ว
ระบบเพิ่มความเร็ว จะทำงานผ่านลูกรอก โดยต่อผ่านไปยังเท้าเหยียบ เพื่อเพิ่มความเร็ว
ลูกรอก จะดึงไรเซอร์ A ลงมา 12 เซนติเมตร , ไรเซอร์ B 6 เซนติเมตร
และ ไรเซอร์ C 3 เซนติเมตร ตามลำดับ โดยที่ ไรเซอร์ D ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

...........

5. ขั้นตอน และ การบิน
ข้อมูลเหล่านี้ สำหรับผู้ที่ผ่านการฝึกบินแล้ว เพื่อประกอบการเรียนรู้เท่านั้น ไม่ใช่คู่มือ สำหรับการฝึกบิน
การกระทำต่างๆ ต้องกระทำ โดยการแนะนำ และการทดลองให้ดู อย่างถูกต้อง โดยผู้ฝึกสอน

5.1 การตรวจเช็ค ก่อนบิน
ก่อนออกบิน ต้องตรวจสอบอุปกรณ์ อย่างละเอียด เช่นเดียวกับ ขั้นตอนการบิน ของอากาศยานอื่นๆ
ถ้าสถานที่ และอากาศ เหมาะสม นำร่มออกมากาง เป็นรูปโค้งตามลักษณะของร่ม
ตรวจเช็ต ไรเซอร์ และสายต่างๆ ว่าไม่มีการพัน หรือเป็นปมอยู่, ร่มไมีมีการฉีกขาด เซลต่างๆ อยู่ในสภาพดี
สายเบรค ต้องฟรีตลอด ไม่ติดขัด , มีหมวก มี ฮาร์นเนส และร่มสำรอง พร้อม

5.2 การเทคอ็อฟ หรือการออกบิน
สวมหมวก ให้เรียบร้อย ก่อนใส่ฮาร์นเนส
EDONIS เป็นร่มที่ตั้งได้ง่ายมาก ร่มก็จะเริ่ม รับลม เต็มที่ โดยเริ่มจาก กลางตัวร่มก่อน
ความเร็วในการพองตัว ควมคุมได้ง่าย ด้วยแรงดึง เพียงเล็กน้อย ที่ไรเซอร์ A
หลังจาก ตรวจดูว่า ร่มกางสมบูรณ์ ดีแล้ว ก็เพิ่มความเร็ว สำหรับการเทคอ็อฟ
ส่วนการคอนโทรล ที่เบรค ก็ขึ้นอยู่กับ ความแรงของลม และ ความลาดชัน ของเนินเขา
ก่อนที่จะออกบิน ต้องแน่ใจว่า ร่มกางสมบูรณ์ หากไม่พร้อม ให้ ดึงร่มลงทันที
หากปีกพับเล็กน้อย ให้ดึงเบรคปั้ม แบบนิ่มๆ ยาวๆ ไม่ใช่การกระตุก
โดยอาจดึงเบรค อีกด้าน ช่วยเล็กน้อย เพื่อป้องกัน ร่มหมุนไปด้านที่พับ หากยังไม่คลาย ให้ลองปั้มใหม่ อีกครัง
ในกรณี ที่ ลมแรง การกลับตัว หันหน้าเข้าหาร่ม เพื่อตั้งร่ม ด้วยวีธี รีเวอร์ส จะหมาะสมกว่า ฟอร์เวอร์ส

5.3 การบิน บนอากาศ
EDONIS ถูกปรับแต่ง หรือ ทริม ให้มีอัตราการร่อน ที่ดีที่สุด (ขณะไม่มีลม)
ซึ่งอัตรา การร่อน ที่ดีที่สุด หรือร่อน ไปได้ไกลที่สุด ก็คือไม่มีการดึงสายเบรคเลย
หากต้องการให้ร่ม มีการสูญเสียความสูง น้อยที่สุด ให้ดึงเบรค ทั้ง 2 ด้าน ไว้ที่ 15-25 เซนติเมตร

ขณะบิน ให้ปฎิบัติ ตามกฎ ต่างๆ เพื่อ ความปลอดภัย และป้องกันการชนกัน

เมื่อบินผ่าน บริเวณที่ มีอากาศแปรปรวน หรือเทอร์บูแลนซ์ ให้ดึงเบรค ทั้ง 2 ด้าน ไว้เล็กน้อย
เพื่อให้รู้ถึง แรงตึง และการตอบสนอง จากปีก ที่รวดเร็วขึ้น และพร้อมที่ จะจัดการ หรือแก้ไข ได้ท่วงทัน
เมื่อ แรงตึงที่ด้านใดด้านหนึ่ง เริ่มหายไป ให้ดึงเบรค ด้านนั้นเพิ่มขึ้น เพื่อป้องกันร่มพับ

ก่อน ที่จะทำการบินกับเทอร์มอล ต้องทำความคุ้นเคย กับเทคนิคต่างๆ ในการควบคุมร่มให้ดี
สำหรับการเลี้ยว ก่อนที่จะเลี้ยว ให้เพิ่มความเร็วก่อน โดยการคืนเบรค จากนั้นก็ดึงเบรค ด้านที่ต้องการจะเลี้ยว
พร้อมกับการ เวทชิพ หรือการถ่ายเท น้ำหนัก ไปยังด้านที่จะเลี้ยว
โดยมุมเอียง หรือมุมในการเลี้ยว สามารถ ควบคุมได้ ด้วยการดึงเบรค อีกด้าน รั้งไว้เล็กน้อย
สำหรับ EDONIS แม้ไม่ได้ดึงเบรค อีกด้านหนึ่งรั้งไว้ ก็สามารถ ควบคุมการเลี้ยว ได้โดยง่าย

ขณะเลี้ยวไต่เทอร์มอล ให้ดึงเบรคด้านที่จะเลี้ยว รั้งไว้ประมาณ 10-30 เซนติเมตร
มุมเอียง ในการเลี้ยวก็จะอยู่ที่ ประมาณ 10-30 องศา โดยขึ้นกับขนาดและ ความแรง ของเทอร์มอล
ขณะหลุดจาก เทอร์มอล หรือลมยก ที่มีความแรง อาจต้องเบรคเล็กน้อยในทันที เพื่อป้องกันร่มพับ
ร่มรุ่น EDONIS ออกแบบมา เพื่อให้มีประสิทธิภาพ ในการบิน ครอสคันทรี่ ได้ด้วย

การบินใน ขณะลมแรงและสวนลม ให้เหยียบสปีดบาร์ โดยที่ไม่รั้งเบรค (แต่เบรคยังอยู่ในมือตลอดเวลา)
หากร่มพับให้รีบคืน สปีดบาร์ทันที และพร้อม รับมือ กับการแก้ไข ที่ถูกต้อง

5.4 การบิน หรือการ ปฎิบัติ กับสภาวะไม่ปกติ
ไม่ว่า จะเป็นร่มอะไร ก็ตาม หากบินในสภาวะอากาศ ที่ไม่ปกติ
คุณย่อมมีโอกาส พบกับ สถานการณ์ ที่ ปีกพับ หรือ สปินได้ เสมอ
การกระทำที่ไม่ถูกต้อง และผิดเวลา อาจทำให้เกิด ปัญหา หรือความรุนแรง ที่มากกว่าเก่า

ปีกพับด้านหน้า ทั้งหมด
เช่นในกรณี หลุดออกจากลมยก หรือเทอร์มอลแรงๆ โดยไม่มีการเบรค ร่มจะหน้าทิ่มลง และเกิดการพับ
สำหรับ EDONIS หากปีกพับ ร่มจะกาง กลับสู่สภาวะปกติ ในทันที โดยไม่มีการเลี้ยว ให้เสียทิศทาง
สำหรับร่ม ที่ไม่กางกลับ ในทันที อาจช่วย โดยการปั้ม ที่สายเบรคทั้ง 2 ด้าน (ดึงยาว แล้วคืนกลับ)
ให้รีบ คืนเบรค กลับสู่ปกติ เมื่อร่มกางแล้ว เพื่อป้องกัน ร่มสต็อล
หากร่ม ไม่กาง ก็ให้ปั้มใหม่ แต่ก็ควรระวังการดึงเบรคมาก และปล่อยในทันที เพราะร่มจะหน้าทิ่ม และพับได้อีก

ปีกพับ ด้านใดด้านหนึ่ง
ขณะมีลมแปรปรวน หรือ เทอร์บูแลนซ์ ปีกด้านหนึ่ง อากเกิดการพับได้
สำหรับ EDONIS ร่มจะกาง กลับสู่สภาวะปกติ ในทันที โดยไม่มีการเลี้ยว ให้เสียทิศทาง
หากไม่เป็นเช่นนั้น นักบินควรควบคุมร่ม เพื่อป้องกันการเลี้ยว โดยใช้เบรค
และเวตชิพ ไปยังด้านที่ไม่พับ เพื่อถ่ายเทน้ำหนัก พร้อมกับการ ปั้ม ด้านที่พับ
สำหรับร่มอื่นๆ การดึงเบรค ป้องกันการเลี้ยว มากไป อาจทำให้ ร่ม สต็อลได้ เช่นกัน

ดีพสต็อล หรือ การร่วงหล่น แบบ พาราชู๊ต
เกิดขณะที่ ร่มมีความเร็ว น้อย และมุมปะทะเพิ่มมาก จนการไหลของอากาศ ผ่านปีก ไม่ต่อเนื่อง และไม่เพียงพอ
จนทำให้ ร่มมี ความเร็วลดลง มีอัตราการสูญเสียความสูงที่มาก แต่ร่มยังคงรักษาสภาพปีกอยู่
สามารถ เกิดได้ ขณะบินในอากาศที่มีเทอร์บูแลนซ์ หรือการบินผ่าน วินด์เกรเดี่ยน (ความเร็วลม ลดลง ตามความสูง)
หากรู้สึกว่า มีอาการ ดีพสต็อล ให้รีบคืนสายเบรค กลับไปทันที
ร่มที่มีสภาพเก่า หรือสายเกิดการยืด ไปบ้าง อาจต้องดึงไรเซอร์ A ลงมา ประมาณ 5 เซนติเมตร
เพื่อให้ร่มหลุดออกจากอาการ ดีพสต็อล

ฟูลสต็อล
ในกรณีที่ มีการดึงสายเบรคมากไป จนเลยจุด ดีพสต็อล ร่มจะเข้าสู่อาการ ฟูลสต็อล
ชายปีกร่ม จะพับลงมา และปลายปีกทั้งสองด้าน จะโน้มเข้าหากัน เป็นรูปเกือกม้า
ในขณะที่ ความเร็วเดินหน้าจะหายไป จนเหลือแต่การร่วงหล่น อย่างรวดเร็ว

การแก้ฟูลสต็อล
ในขณะที่ สปีดร่มหายไป แต่โมเมนตั้ม การเคลื่อนที่ ของคนยังมีอยู่ คนจะล้ำหน้าร่มไป
หากเราทำการ คืนเบรค ขณะที่ ร่มยังอยู่ด้านหลัง แรงเหวี่ยง เวลาที่ร่มกางกลับ จะมีมาก
จนทำให้ร่มเหวี่ยงไปข้างหน้าด้วยความเร็วและแรง จนร่มมาอยู่ใต้คน และคนก็จะหล่นมาอยู่กลางร่ม
เป็นสิ่งที่อันตรายมาก ฉะนั้นต้องรอให้คนอยู่ใต้ร่มก่อน จึงเริ่มคืนเบรคไป อย่างเท่าๆกัน
หากคืนเบรคไม่เท่ากัน ร่มก็จะเกิดการสปินได้อีก หรือหากคืนเร็วเกินไป และรังไม่ทัน ร่มก็พับได้อีก

ร่มสปิน หรือ สต็อลด้านเดียว
เนื่องจากการใช้เบรคที่มากไป จนปีกด้านหนึ่ง เกิดอาการสต็อล ด้านที่สต็อลก็จะหยุดเดินหน้า และเกิดการหมุน
แต่คนไม่ได้หมุนตามไปด้วย สายไรเซอร์ จะบิดพันกันเป็นเกลียว

การสปิน มักเกิดจาก การพยายามบิน เพื่อต้องการให้มีอัตราการสูญเสียความสูงน้อย ด้วยการดึงเบรคมากๆ
โดยเฉพาะนักบินใหม่ เมื่อต้องการจะเลี้ยว ก็ดึงเบรคเพิ่ม โดยลืม คืนเบรคอีกด้านหนึ่ง ร่มจึงเกิดการสปิน
หรือ ในขณะทำการแลนดิ่ง แล้วดึงเบรคมากไป ในระยะที่มีความสูงอยู่มาก เพื่อต้องการแลนดิ่งให้ตรงจุด
สำหรับ ร่มรุ่น EDONIS สามารถ รู้สึก ถึงอาการ ที่ปีกด้านหนึ่งหยุดและเริ่ม ถอยหลัง ก่อนที่จะเข้าสปินได้
เพียงคืนเบรคกลับไป ร่มก็จะกลับมาบินตามปกติ

ปีกซุก ระหว่างเชือก โดยเฉพาะที่ปลายปีก
เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ หลังจากร่มเกิดการพับ อย่างรุนแรง
วีธีแก้ ให้ เอื้อมมือไปดึงสายปลายปีก ตรงไรเซอร์ B เส้นนอกสุด เพื่อให้สาย มีแรงตึง และคลายตัวออกมา

5.5 การลดความสูง
ในกรณีที่ ร่มมีอัตรายกที่มากเกิน หรือการคาดคะเน สภาวะอากาศที่ผิดพลาด จนยากแก่การนำร่มลง
มี อยู่ 3 วิธี ที่จะลดความสูง ลงอย่างรวดเร็ว คือ

5.5.1 Sprial dive - สไปรัล ไดว์
การควงสว่านลง โดยการเลี้ยว 360 องศา เพื่อเพิ่มมุมเอียงของร่ม ลงหาพื้น
ข้อควรระวัง ในการเริ่มเลี้ยว คือ ถ้าเริ่มด้วยการดึงเบรคมากไป ร่มอาจ สปินได้
ถ้ารู้สึกว่า ร่มจะเข้าสปิน ให้คืนเบรคไปก่อน แล้วเริ่มต้นใหม่
เมื่อมุมเอียงมากขึ้น อัตราการสูญเสียความสูง ก็มากขึ้น และจะมีแรงกระทำต่อร่มและคนมากขึ้นด้วย
คนที่สุขภาพไม่แข็งแรง อาจหน้ามืด จนหมดสติได้ และร่มที่สภาพเก่า สายร่มอาจขาดได้เช่นกัน
ในการออกจาก สไปรัล ให้ คืนเบรคอย่างช้าและนิ่มนวล ในบางกรณีอาจต้อง ดึงเบรค อีกข้างช่วย
การสูญเสีย ความสูง ด้วยการ สไปรัล อาจมากถึง 15 เมตร/วินาที (900 เมตร/นาที)
ห้ามทำ สไปรัล ที่ระยะใกล้พื้น และควรออก จาก สไปรัล ก่อน 100 เมตร เหนือพื้น
หากอากาศ แปรปรวนมาก ควรใช้ วีธี ดึง B-line stall จะปลอดภัยกว่า

โดยทั่วไปแล้ว การทำสไปรัล ที่ความเร็วในการสูญเสีย ความสูง มากกว่า 14 เมตร/วินาที
ร่มอาจไม่ออกจาก สไปรัล แม้ว่า เราจะคืนเบรคไปแล้ว ต้องทำการ เวทชิต และดึงเบรคอีกด้านช่วย

5.5.2 B-line stall - บี ไลน์ สต็อล
เป็นการสต็อลร่ม โดยการดึง ไรเซอร์ B ลงมา จนโปรไฟล์ของร่ม เสียรูปทรงไป
ทำให้ การไหลของอากาศ เหนือปีก ที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ถูกทำลายลง
ให้เอื้อมมือ ขึ้นไปจับ คาราไบเนอร์เล็กๆ ตรงจุดต่อ สายร่ม กับไรเซอร์ B ทั้ง 2 ด้าน
แล้วดึงลงมา ตั้งแต่ 15-45 เซนติเมตร โดยที่ สายคอนโทรล หรือเบรค ยังอยู่ในมือ ตลอดเวลา
อัตราการสูญเสีย จะมากหรือน้อย ขึ้นกับระยะ ในการดึง ไรเซอร์ B ลงมา
การกลับสู่ สภาวะบินปกติ ให้คืน ไรเซอร์ B ขึ้นไป โดยในระยะ 20 เซนติเมตร สุดท้าย ให้คืน อย่างรวดเร็ว
เพื่อ ป้องกัน ร่ม ยังคงอยู่ในสภาวะ สต็อล โดยเฉพาะร่มที่มีสภาพเก่า
และควรออก จาก B-line stall อย่างน้อย 100 เมตร ก่อนถึงพื้น

5.5.3 Big-Ears - บิกเอียร์
การการลดความสูง โดยที่ยังควบคุมความเร็วในการเดินหน้าได้ ด้วยการพับปลายปีกทั้ง 2 ด้านลงมา
ด้วยการเอื้อมมือ ขึ้นไปจับสาย A เส้นนอกสุด ของ ทั้งสอง ด้าน ในระยะที่สูงที่สุด (ยังจับคอนโทรลอยู่ตลอดเวลา)
โดยดึงลงมาข้างหนึ่งก่อน แล้วตามด้วยอีกด้านหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่อป้องกันที่หน้าเซลจะพับลงมาทั้งหมด หากทำการดึงพร้อมๆ กัน
เมื่อต้องการคืน ให้คืนไปพร้อมๆกัน หากไม่คลาย ให้ ปั้มสายเบรคช่วยกระตุ้น

5.6 การแลนดิ่ง หรือการลงพื้น
ขณะลมอ่อน หรือไม่มีลม วางพาท การบินขั้นสุดท้าย เข้าหาลม โดยใช้ความเร็วที่เหมาะสมที่สุด
ด้วยการเบรคเพียงเล็กน้อยหรือไม่เบรคเลย จากนั้นก็ดึงเบรคลง เท่าๆกัน อย่างนิ่มนวล จนเท้าแต่พื้น
และรั้งร่มลง เพื่อไม่ให้ ปากเซล ลงกระแทกกับพื้น จนเกิดความเสียหายได้
ในขณะที่ลมแรง ใช้เบรคที่เพียงพอเพื่อลดความแร็ว และเตรียมพร้อม สำหรับการกลับตัวทันที เมื่อเท้าแตะพื้น
จากนั้น ก็ควบคุมร่ม หรือ พับร่มลง ด้วย ไรเซอร์ C หรือ B เพื่อป้องกันร่มลาก

6. การดูแล การจัดเก็บรักษา
เนื่องจากวัสดุ ในการผลิตร่ม อาจเสื่อมไปตามอายุ ตลอดจน การทำลายจากแสงอุลตร้าไวโอเลต
เก็บให้พ้น แสงอาทิตย์ ขณะที่ไม่ได้บิน , และป้องกัน การบิดงอ หรือกระชากสาย อย่างรุนแรง

6.1 การซ่อมแซม
ในกรณีที่ ร่มเกิดการฉีกขาด โดยมีขนาดไม่เกิน 5 เซนติเมตร
เราสามารถ ซ่อมแซมได้เอง โดย การใช้ สติกเกอร์ ปะร่ม ปะทั้งสองด้าน ตรงส่วนที่ขาด
หากมีขนาดใหญ่ ควรส่ง ไปซ่อมแซม ยังผู้จัดจำหน่าย หรือบริษัท ที่ได้รับอนุญาต ในการซ่อมแซม

6.2 การตรวจเช็ค เป็นระยะ
ทำการบันทึก การบิน และการตรวจสอบ ทุกๆ ครั้ง ทั้งก่อนบิน หลังบิน
เมื่อ มีการใช้งาน ครบ 100 ชั่วโมง หรือ 1 ปี ควรส่งไป ตรวจสอบ โดยละเอียดอีกครั้ง
อายุการใช้งาน จะยาวนานขึ้นอยู่กับ การดูแล และการเก็บรักษาด้วย

6.3 การพับร่ม และการดูแลที่ถูกต้อง
ในการพับร่ม ควรพับแบบเซลซ้อนเซล โดยเริ่มจากลางตัวร่ม
และพับเข้ามาที่ละเซล ซ้อนๆ กัน เพื่อป้องกัน แผ่นไมล่า ตรงปากเซล ให้คงสภาพเดิมอยู่เสมอ
ไม่พับแน่นเกินไป และควรเก็บในถุงร่ม จากนั้น ใส่ในกระเป๋าร่ม วางไว้ในห้องที่อากาศ เย็น และแห้ง
ร่มจะได้คงประสิทธิภาพ และอายุการใช้งาน ที่ยาวนาน

ฮาร์นเนส หรือชุดที่นั่ง ที่เหมาะสมกับร่ม
EDONIS ได้รับการ รับรอง จาก AFNOR ว่าเหมาะสำหรับ ฮาร์นเนส ชนิด ABS(Anti balance System)
และได้รับการรับรอง จาก DHV ว่าใช้ได้กับ ฮาร์นเนส ทุกประเภค (GH Harness)
ในการทดสอบ จะตั้งความกว้าง ของระยะห่าง ระหว่าง คาราไบเนอร์ ไว้ที่ 38 เซนติเมตร
ร่มจะให้ การตอบสนอง และการเวตชิฟ ที่ดีขึ้น เมื่อปรับระยะห่างมากขึ้น
สำหรับฮาร์นเนส ที่ไม่มีการถ่ายเท น้ำหนัก โดยอัตโนมัติ เมื่อปีกพับด้านใดด้านหนึ่ง
นักบินควรเวตชิพ หรือถ่ายเทน้ำหนัก ไปยังด้านที่ไม่มีการพับ เพื่อลด การเลี้ยวของร่ม

สิ่งที่ควรระลึกอยู่เสมอ
ความปลอดภัย ขึ้นอยู่กับทัศนคติ และการฝึกฝนของท่าน
ควรใช้เวลา บนพื้นดิน เพื่อ เรียนรู้ร่ม ให้มีความคุ้นเคยที่สุด ก่อนที่จะทำการโผบินขึ้นสู่ท้องฟ้า



สำหรับการ ทดสอบความปลอดภัย ของร่ม รุ่น EDONIS
ผ่าน การทดสอบ ทุกไซส์ และได้ผล เหมือนกัน คือ อยู่ในระดับ DHV 1 ซึ่งมีความปลอดภัยสูงสุด

ไซส์ S ขนาด 21.47 ตารางเมตร 55-80 กิโลกรัม




ไซส์ M ขนาด 23.79 ตารางเมตร 75-105 กิโลกรัม




ความยาวสาย แต่ละเส้น สำหรับการตรวจเช็คร่ม โดยละเอียด









1. การเทคอ็อฟ
ร่มกางตัวอย่างนิ่มนวล และขึ้นเหนือหัวนักบิน โดยไม่ล้ำหน้า
ความเร็วที่ใช้ในการออกตัวปานกลาง ส่วนการควบคุมร่ม ง่ายมาก

2. การบินตรง
มีการป้องกัน การ โรลลิ่ง พิชชิ่ง อยู่ที่ระดับปานกลาง (หากป้องกันมากไป ร่มก็บินไม่สนุก)

3. การเลี้ยว
โอกาสที่จะเกิดการสปิน เป็นไปไม่ได้ ระยะดึงสายคอนโทรลยาว
ส่วน ความคล่องแคล่ว อยู่ระดับปานกลาง

4. การสต็อล
น้ำหนักในการดึง สายคอนโทรล จะเพิ่มสูง ขึ้นเรื่อยๆ ก่อนที่ร่มจะเข้าสู่สภาวะ ดีพสต็อล
ร่มจะเข้าสู่สภาวะ ดีพสต็อล เมื่อดึงสายคอนโทรล มากกว่า 75 เซนติเมตร
และจะเข้าฟูลสต็อล เมื่อดึงมากกว่า 80 เซนติเมตร

5. การพับหน้า ทั้งตัว
ร่มคลายตัวออก อย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว โดยมีการเหวี่ยงไปข้างหน้า นิดหน่อย

6. การพับข้าง โดยทดสอบ ถึง ขณะปีกพับ 75 เปอร์เซนต์
ร่มมีแน้วโน้มที่จะเกิดการเลี้ยว น้อยกว่า 90 องศา
และคลายตัวกลับ ในขณะที่มีการเปลี่ยนทิศทางบิน ไม่เกิน 180 องศา
การโรลลิ่ง พิชชิ่ง น้อยกว่า 45 องศา การสูญเสียความสูง น้อยมาก

7. การบังคับขณะร่มพับ
บังคับทิศทางได้ง่าย ด้วยการดึงเบรคฝั่งตรงข้าม โดยที่ร่มไม่มีแน้วโน้มที่จะสต็อล
และปีกคลายตัวกลับ อย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว

8 การออกจากฟูลสต็อล ง่าย
การออกจากสปิน ง่าย
การสไปรัล ควบคุมได้ง่าย

9. บี-ไลน์ สต็อล ง่าย

10. บิกเอียร์ ง่าย การออกเป็นไปโดย ต่อเนื่องและรวดเร็ว

11. การแลนดิ่ง ง่ายมาก

12. การพับหน้า ขณะใช้สปีดบาร์ด้วย ควบคุมง่าย เช่นเดียวกับ ขณะไม่ใช้สปีดบาร์

13. การพับข้าง ขณะใช้สปีดบาร์ด้วย ควบคุมง่าย เช่นเดียวกับ ขณะไม่ใช้สปีดบาร์

14. บิกเอียร์ ขณะใช้สปีดบาร์ด้วย การเข้าง่าย การออกเป็นไปโดย ต่อเนื่องและรวดเร็ว


หวังว่า คงเป็นข้อมูล ที่มีประโยชน์ สำหรับ ผู้ที่ใช้ร่ม Wings Of Change และร่มอื่นๆ :P








_________________
"ชีวิตคน คนหนึ่ง สั้นเกินกว่า จะทำทุกอย่างๆได้ ... แต่เราก็เลือก ที่จะทำ ในสิ่งที่รักและต้องการได้... "

089-หนึ่งสองสาม-เก้าหกสี่แปด, ดู วีดีโอ การบินร่มร่อน , ดาวน์โหลด วีดีโอ, My blog
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว เข้าชมเว็บไซต์
แสดงการตอบก่อนนี้:   
 ตั้งกระทู้ใหม่[NewTopic]   ตอบกระทู้[Reply]     หน้ากระดานข่าวหลัก - ความรู้เกี่ยวกับร่มร่อน(Theory) ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า:Page: 1 จากทั้งหมด:of: 1
ไปยัง[JumpTo]:  

 

Powered by upsky.net