ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
oat
Join: 14 สค. 2007 ตอบ: 1823 ที่อยู่: พระราม9 กรุงเทพ, ตามยอดเขา ชายทะเล ทั่วๆไป
|
ตอบ: อา. สค. 29, 2010 3:35 pm ชื่อกระทู้: การใช้ Speed Bar |
|
มีคนถามผมเรื่องการใช้ Speed Bar ผมขอมาตอบในนี้แล้วกัน บางท่านอาจทราบแล้วก็ผ่านเลยไป แต่บางท่านยังไม่ทราบหรือไม่แน่ใจ ลองอ่านครับ บางท่านที่มีความคิดเห็น และ ข้อเสนอแนะก็ยินดีครับ..
สปีดบาร์ ใช้เพิ่อเพิ่มความเร็วของร่ม โดยการลดมุมปะทะของร่มลง เช่นกรณีที่ต้องการเพิ่มความเร็วร่ม ในการบินร่อนในเดินทาง, เพื่อเจาะอากาศหนีลมแรงออกมาหน้าเขา, หนีลมกด หรือ เพิ่มอัตราการร่อนขณะบินสวนลม
สปีดบาร์ โดยส่วนใหญ่จะมีสายสำหรับเท้าเกี่ยว ซึ่งอาจเรียกได้ว่า speed step ที่1
และที่ตัวบาร์เองเป็น step ที่2
การปรับตั้งสปีดบาร์ที่ให้ได้ประสิทธิภาพกับร่มสูงสุดตามข้อกำหนด คือเมื่อเหยียบสปีดบาร์ step 2 แล้ว ลูกรอกสายสปีดบาร์หน้า riser ชนกันพอดี
ในการใช้งาน:
step แรกให้ยันเท้าเพื่อเหยียบสายเกี่ยวออกไปข้างหน้าอย่างนุ่มนวล และให้สังเกตุที่ ตัวเกี่ยวสายสปีดบาร์ด้านหน้า riser จะต้องหาตำแหน่งบาลานซ์ให้ตัวเกี่ยวนี้เคลี่อนที่ลงมาเท่าๆกัน และควรอยู่ในท่านั่ง เอนหลังเพื่อให้ลู่ลมมากที่สุด มือทั้งสองชูเพื่อลดการเบรคร่ม เพราะเราต้องการสปีดเดินหน้า และต้องจำไว้ว่าหากร่มเกิดอาการเมื่อไรให้คืนสปีดบาร์เป็นอันดับแรก สำหรับผม กรณีที่ต้องการหนีลมแรงมาหน้าเขาถ้าร่มเริ่มเดินหน้าผม เหยียบแค่ step นี้พอ ยิ่งเหยียบมาก ยิ่งเพิ่มโอกาสที่ร่มจะพับมาก แต่ถ้าไม่พอค่อยๆเหยียบ สเต็ปที่ 2 เพิ่ม
ส่วนการเหยียบเพื่อเพิ่ม glide ratio ให้ดูglide ratio ที่ gps เป็นหลักครับ..
หลายครั้งที่เห็น การเหยียบแบบรวดเร็ว จะทำให้ร่มพับโดยทันที แถมเหยียบไม่เท่ากัน จะทำให้ร่มพับข้างที่มีการเคลื่นที่ของสายมากกว่า
การยืนเหยียบเป็นวิธีที่ผิดที่สุด เพราะน้ำหนักตัวจะส่งลงที่สปีดบาร์หากร่มพับจะคืนสปีดบาร์ได้ยากกว่าหรือคืนไม่สุด (อันนี้โดนมาแล้ว ดียังมีความสูงไม่งั้น...)
การแอ่นตัวออกจาก ฮาเน็ตโล้ตัวมาข้างหน้าเพื่อย้าย CG ใช้ในกรณีที่ไม่สามารถ เหยียบสปีดบาร์ได้ ครับ..
|
|
กลับไปข้างบน |
|
oat
Join: 14 สค. 2007 ตอบ: 1823 ที่อยู่: พระราม9 กรุงเทพ, ตามยอดเขา ชายทะเล ทั่วๆไป
|
ตอบ: อา. สค. 29, 2010 4:24 pm ชื่อกระทู้: |
|
การเหยียบสปีดบาร์สามารถทำร่วมกับ การทำบิ๊กเอียเพื่อลดระดับ โดยต้องทำบิ๊กเอีบก่อน แล้วค่อยเหยียบสปีดบาร์ อย่างนุ่มนวลที่สุด เวลาจะออกให้ถอนสปีดบาร์ก่อนแล้วค่อยลายบิ๊กเอีย
หมายเหตุ การทำบิ๊กเอียทำเพื่อลดระดับ โดบลดพื้นที่ปีกลง แต่สปีดลงอาจลดลง
เพราะแรงต้านจากปีกถูกพับ
หากอยู่เหนือเขาแล้วลมแรงให้ใช้สปีดบาร์สู่ลมออกมาหน้าเขาให้มาที่สุดแล้วค่อยลดระดับ หากเหยียบแล้วไม่สามารถสู้ลมได้ กรณีนี้ยังคงมีแรงยกแต่ร่มถอยหลังให้คะเนการเกิดโรเตอร์หลังเขา หากมีความสูงมากหรือ เริ่มเสียความสูงพอให้หันหลังบินตามลมไปให้ไกลแนวผลกระทบจากโรเตอร์
วีธีหลีกเลี่ยง
ช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะหน้าฝนนี้ พยายามบินอยูหน้าเขา อย่าพยายามบินเหนือสันเขา โอกาสหลุดไปหลังเขาสูง หมั่นสังเกต speed เดินหน้าร่ม
ของผมถ้าน้อยกว่า 10 กม/ชั่วโมงแล้วออกมาดีกว่า ถ้าไม่มี GPS ก็ดูยอดไม้ ควันไฟ นกตัวเล็กๆหน้าเท็คอ็อฟ ก็พอช่วยได้
แต่ผมสังเกตพี่ดาบโบ้ ถ้าแกไม่แกะร่มบินห่างๆเขาดีกว่า อิๆๆ
Happy flying
|
|
กลับไปข้างบน |
|
กะรู บุคคลทั่วไป
|
ตอบ: อา. สค. 29, 2010 8:37 pm ชื่อกระทู้: |
|
แต่ถ้าอยากบินอากาศที่เซฟที่สุด
ให้ดู พี่ขยัน จะดีที่สุด
รับรอง ปลอดภัย
ถ้าจะเกิดอะไรก็น่าจะเกิดจากตัวนักบินเอง
คอนเฟริม
|
|
กลับไปข้างบน |
|
oat
Join: 14 สค. 2007 ตอบ: 1823 ที่อยู่: พระราม9 กรุงเทพ, ตามยอดเขา ชายทะเล ทั่วๆไป
|
ตอบ: อ. สค. 31, 2010 8:16 am ชื่อกระทู้: |
|
นอกจากนี้สามารถใช้สปีดบาร์ในการ ควบคุมการ pitching ในขณะเหยียบสปีดบาร์ได้ด้วย แต่ต้องถูกจังหวะและเวลา
เช่นเมื่อถูกเทอร์มอล ยกหน้าร่มขึ้นในจังหวะนี้ยังคงเหยียบ สปีดบาร์ อยู่ แต่ในจังหวะที่ร่มเริ่มจะเดินหน้า เพื่อ surgeให้ คืนสปีดบาร์ ให้สัมพันธ์กับการ surge หลังจากคืนสุด ให้ใช้เบรคเป็นตัวควบคุมการ pitching ต่อครับ
การคืนสปีดบาร์ในขณะถูกยกหน้าร่มขึ้น จะเป็นการไปเพิ่มองศาของร่ม ทำให้การ pitching ให้รุนแรงขึ้น.
นอกจากนี้เรายังใช้สปีดบาร์ในการเลี้ยว ควบคู่ไปกับการ weight shift โดยยังคงรักษาสปีดร่ม และ อัตราร่วงหล่น
|
|
กลับไปข้างบน |
|
Boo บุคคลทั่วไป
|
ตอบ: อ. สค. 31, 2010 9:43 am ชื่อกระทู้: |
|
เพิ่มเติมการใช้ speed bar ด้วยครับ
การใช้ speed bar เป็นการเพิ่มความเร็วของร่ม โดยการลดมุมปะทะของร่ม ซึ่งทำให้มีโอกาสเกิด front truck หรือการพับหน้าได้มากขึ้นอย่างที่พี่โอ็ดเขียนไว้
การป้องกันการพับหน้าขณะใช้ speed bar สามารถทำได้โดยการจับที่ riser หลังสุด และดึงเบาๆ ให้เกิดแรงตึง เพราะขณะที่เหยียบ speed bar riser หลังจะเริ่มลดแรงตึงมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อใช้ speed bar สุด riser หลังจะมีแรงตึงอยู่น้อยมาก วิธีนี้ยังสามารถ ควบคุมการ pitching ของร่มได้ดีด้วย
-หากต้องการเลี้ยวให้เพิ่มแรงตึง riser ข้างที่ต้องการเลี้ยวมากกว่าอีกข้างหนึ่ง ร่มจะเริ่มเลี้ยวไปทางที่ต้องการ บ้างท่านอาจเจออาการร่มร่อนเอียงไปข้างหนึ่งมากว่าข้างหนึ่ง เวลาใช้ speed bar วิธีนี้ก็ช่วยให้ร่มบินตรงอยู่ในสายทางการบินที่เราต้องการได้ครับ
-วิธีนี้จะทำให้การร่อนมีความเสถียร และได้ความเร็วสูงสุด
-วิธีนี้ยังสามารถใช้ควบคุมร่มในกรณีที่สาย break ปัญหา เช่นหลุด ขาด เป็นต้น
-สามารถใช้กับร่มได้ทุกรุ่น
หากต้องการความเร็วในการหนีอุปสรรค โดยการใช้ speed bar ต้องไม่ใช้ break นะครับ เพราะเป็นลดประสิทธภาพของ speed bar ลง
* การใช้วิธีนี้ต้องใช้แรงตึงที่เหมาะสม ห้ามดึงรั้งจนร่มเกิดการเสียรูป หรือ stall
Happy landing ครับ
|
|
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|